ตอนที่ 3: ต้นทุนคืออะไร? เข้าใจให้ตรงก่อนจะคำนวณ

เวลาเราพูดถึง 'ต้นทุน' หลายคนจะนึกถึงแค่ราคาซื้อของ หรือค่าวัตถุดิบเท่านั้น แต่ในโลกของบัญชี ต้นทุนคือมากกว่านั้น! ลองนึกถึงร้านอาหาร: - ค่าวัตถุดิบ (ผัก เนื้อ เครื่องปรุง) - ค่าจ้างพนักงานในครัว - ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับ 'ต้นทุนของสินค้า/บริการ' ที่เราจะขาย
ต้นทุนคืออะไร เข้าใจให้ตรงก่อนจะคำนวณ

ถ้าคิดต้นทุนไม่ครบ = ขายดีแต่กำไรหาย
ถ้าคิดต้นทุนเกินจริง = สินค้าแพงจนขายไม่ออก

> ความเข้าใจเรื่องต้นทุนคือจุดเริ่มต้นของการตั้งราคาขาย การวิเคราะห์กำไร และการควบคุมค่าใช้จ่าย

ต้นทุนในเชิงบัญชีมีหลายประเภท เช่น:
1. ต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods Sold – COGS)
2. ต้นทุนการผลิต (Direct Materials, Direct Labor, Manufacturing Overhead)
3. ต้นทุนขายและบริหาร (Selling & Admin Expenses)
ยิ่งกิจการมีสินค้าหลากหลายหรือมีขั้นตอนผลิตหลายขั้น ยิ่งต้องวางระบบต้นทุนให้ดี ไม่อย่างนั้นจะทำให้วิเคราะห์กำไรต่อสินค้าแต่ละชิ้นผิดพลาดได้

ต้นทุนจึงไม่ใช่แค่ตัวเลขที่อยู่ในงบเท่านั้น แต่คือ ‘เครื่องมือ’ ในการควบคุมธุรกิจให้มีกำไรและยั่งยืน


สินค้าคงเหลือในมุมบัญชี… เชื่อมโยงต้นทุนอย่างไร ไม่ใช่แค่ของที่ยังขายไม่ออก


เวลาพูดถึง “สินค้าคงเหลือ” หลายคนอาจเข้าใจว่า คือของที่ยังขายไม่ออกเก็บไว้อยู่ในโกดังเท่านั้น… แต่ความจริงแล้วในมุมบัญชี สินค้าคงเหลือหมายถึงของที่ยัง ‘มีไว้เพื่อขาย หรือใช้ผลิตเพื่อขาย’ ในกระบวนการธุรกิจ

ตัวอย่างของสินค้าคงเหลือ เช่น:
– สินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายโดยตรง (สินค้าในร้านโชห่วย)
– วัตถุดิบที่ยังไม่ได้ใช้ในการผลิต
– งานระหว่างทำ (ยังผลิตไม่เสร็จ)
– สินค้าสำเร็จรูปที่รอขาย

การบันทึกมูลค่าสินค้าคงเหลืออย่างถูกต้องมีผลต่อ:
– กำไรของกิจการ
– ต้นทุนสินค้าที่ขาย
– ความน่าเชื่อถือของงบการเงิน

> ถ้ามูลค่าสินค้าคงเหลือต่ำไป = ต้นทุนสูง กำไรลด | ถ้าสูงไป = กำไรพุ่ง